สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังต่อยอดงานวิจัย สู่ภาคธุรกิจขยายผลเชิงพาณิชย์
ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญากับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน)

วันนี้ (7 พ.ย.65) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) ลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา
เพื่อต่อยอดในทางธุรกิจหรือหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ร่วมกัน โดยมี รศ.ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ คุณนิวัฒน์อธิวัฒนานนท์ ผู้อํานวยการเทคโนโลยีSCGC เป็นผู้ลงนาม

การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือใน 4 ด้าน
คือ (1) การพัฒนาและต่อยอดเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาที่ สจล. ได้ริเริ่มและพัฒนาขึ้น
เช่น เทคโนโลยีเกี่ยวกับพอลิเมอร์ สิ่งประดิษฐ์หรือ นวัตกรรมจากพลาสติก นวัตกรรมเกี่ยวกับวิศวกรรมการแพทย์ นวัตกรรมเกี่ยวกับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อนำมาใช้ดัดแปลง ต่อยอด ในทางธุรกิจ หรือหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ร่วมกัน
(2) ความร่วมมือด้านการบริการวิชาการ เช่น การจัดหลักสูตรอบรม สัมมนา เป็นต้น เพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรของทั้งสองฝ่าย และการให้บริการวิชาการและการช่วยเหลือสังคมชุมชน สังคม รวมทั้งการก่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์
(3) ความร่วมมือเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือทางการศึกษา การวิจัยและพัฒนาในรูปแบบต่าง ๆ
และ (4) โครงการวิจัยและพัฒนาในด้านอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะดำเนินงานร่วมกัน

ความร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากความแข็งแกร่งทางวิชาการและการวิจัยด้านเทคโนโลยีของ สจล. ผนวกกับ SCGC ในฐานะผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนในระดับภูมิภาค
ทำให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์การใช้งานของโลกยุคใหม่ ขับเคลื่อนไปสู่นวัตกรรมที่จับต้องได้จริง และช่วยสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

โดยภายในงานมีจัดแสดงผลงานนิทรรศการของอาจารยร์ และนักวิจัยภายในสถาบันฯ

1. ท่อยางน้ำซึมชนิดเสริมแรง รศ.ดร.อิทธิพล แจ้งชัด
2. การวิเคราะห์ปัญหาของสายเคเบิลใต้ดินระบบ 22 KV XLPE ด้วยวิธีวัด
กระเสโพลาไรซ์และกระแสดีโพลาไรซ์
รศ.ดร.นรเศรษฐ พัฒนเดช
3. Catalysts for CO2 conversion to high-value product รศ.ดร.ปานไพลิน สีหาราช
4. Graphene technology รศ.ดร.เชรษฐา รัตนพันธ์
5. Nanomaterials for UV Shielding and Self-cleaning Applications ศ.ดร.วิษณุ เพชรภา
ผศ.ดร.วณิชยา เมฆประสาท
6. วัสดุประกอบ PLA เสริมแรงแบบผสมผสานด้วยใยมะพร้าวและป่านศรนารายณ์ ผศ.ดร.วิภู ศรีสืบสาย
7. Thermoelectric technology (Generator & thermal management) รศ.ดร.อาภาภรณ์ สกุลการะเวก
8. Energy harvesting  & sensor technology (Piezoelectric) ศ.ดร.นราธิป วิทยากร
9. งานวิจัยการแปลงวัสดุเหลือทิ้งการเกษตรเป็นวัสดุนาโนคาร์บอนสำหรับการประยุกต์
ใช้เป็นขั้วตัวกักเก็บพลังงานยิ่งยวด
รศ.ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์
10. ชิปขยายสัญญาณรามานแบบใช้ซ้ำสำหรับตรวจพิสูจน์สารเคมี รศ.ดร.วินัดดา วงศ์วิริยะพันธ์
11. การผลิตพลาสติกชีวภาพ polyhydroxy butyrate จากการหมัก
ด้วย Bacillus megaterium โดยใช้น้ำมันทอดซ้ำเป็นแหล่งคาร์บอน
ผศ.ดร.ธีรินทร์ ฉายศิริโชติ
12. โครงสร้างกระดูกภายนอก (Exoskeleton) อ.นพ.อนวัช เสริมสวรรค์